อาการปวดคอแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่มีอาการปวดคออย่างเดียว

ปวดมาถึงบ่าและสะบัก กลุ่มนี้ถึงแม้จะรักษาค่อนข้างง่าย แต่ก็เป็นอันตรายหรือภัยเงียบด้วยเช่นกัน เพราะผู้ป่วยคิดว่าไม่อันตรายจึงไม่มาพบแพทย์ แต่ความจริงแล้วควรมาพบแพทย์เพื่อแยกว่าเป็น Office Syndrome หรือหมอนรองกระดูกเสื่อม

กลุ่มที่ปวดเพราะมีการกดทับเส้นประสาท

มีอาการแสดง คือ ปวดร้าวลงแขนไปจนถึงมือร่วมกับอาการชา รายที่เป็นมากๆ อาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย เช่น ยกไหลไม่ขึ้น ขยับนิ้ว หรือกระดกข้อมือไม่ขึ้น นอกจากนี้ หากมีการกดทับเส้นประสาทที่ทำงานเกี่ยวข้องกับส่วนใด จะส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นลีบลงด้วย บางครั้งอาจลีบถาวร ถึงแม้จะทำการผ่าตัดแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้เมื่อทำการรักษาโอกาสหายมีมากกว่ากลุ่มที่หมอนรองกระดูกเสื่อมที่ไปกดทับไขสันหลัง

กลุ่มที่ปวดเพราะมีการกดทับไขสันหลัง

        กลุ่มนี้จะมีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจน ทำให้กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็มักจะเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยอาจมีประวัติปวดคอเรื้อรัง ร่วมกับปวดลงแขนหรือลงขา หรือมีอาการชาร่วมด้วย ไปจนถึงมีอาการอ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อบางส่วนเจ็บ กล้ามเนื้อมือลีบ หยิบจับของเล็กๆ หรือใช้มือทำงานที่ละเอียด เช่น กลัดกระดุม ผูกเชือกรองเท้าไม่ถนัด ตลอดจนมีอาการของการเดินเซ สูญเสียการทรงตัวที่ดีไป อาจมีอาการจนถึงขั้นควบคุมระบบการขับถ่ายได้ลำบาก


        ในอดีตกลุ่มที่ปวดเพราะมีการกดทับไขสันหลัง จะทำการรักษาค่อนข้างลำบากและมีความเสี่ยงสูง เพราะระยะห่างระหว่างไขสันหลังกับหมอนรองกระดูก หรือหมอนรองกระดูกกับเส้นประสาทห่างกันประมาณ 1 มิลลิเมตร หรือไม่ถึงมิลลิเมตร

       

         แต่สมัยนี้มีเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย มีการนำเครื่องมือที่ดีมาช่วยในการผ่าตัดให้มีความแม่นยำและมีความปลอดภัยสูงขึ้น โดยใช้กล้องขยายที่เรียกว่า "ไมโครสโคป (Spine microscope)"

         

         หลักการเหมือนกล้องจุลทรรศ์ที่นักเรียนใช้ดูจุลินทรีย์ในห้องทดลอง เป็นการส่องอนุภาคเล็กๆ ให้ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้มองเห็นชัดเจน นำมาสู่ความแม่นยำ และปลอดภัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด

สำหรับวิธีป้องกัน และบรรเทาอาการปวดคอนั้น

ควรทำกายบริหารโดยพยายามออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบคอให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากในชีวิตประจำวัน คนส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้ขยับกล้ามเนื้อบริเวณคอเลย สามารถบริหารกล้ามเนื้อคอได้โดยการยืดและการเกร็งกล้ามเนื้อ ดังนี้

ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ

  • เริ่มต้นที่การนั่งผ่อนคลาย แล้วนั่งหลังตรงขึ้นมา
  • ยกแขนขวาขึ้นมา แล้วอ้อมไปด้านข้างศรีษะ ไปจับที่ใบหูข้างซ้าย
  • จากนั้นให้ดันศีรษะไปด้านขวาช้าๆ จนรู้สึกตึงที่ต้องคอ
  • ทำค้างไว้ 20 วินาที แล้วจึงเปลี่ยนข้าง ทำซ้ำกัน 3 เซ็ต

ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง

  • เริ่มต้นที่การนั่งผ่อนคลาย แล้วนั่งหลังตรงขึ้นมา
  • เอามือทั้งสองข้างประสานไว้ที่ท้ายทอย
  • ค่อย ๆ โน้มคอลงไปข้างหน้า
  • ทำค้างไว้ นับ 20 วินาที ประมาณ 3 เซ็ต

ท่าที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่ แขนส่วนบน

  • เริ่มต้นที่การนั่งผ่อนคลาย แล้วนั่งหลังตรงขึ้นมา
  • ยืดแขนขวาไปด้านซ้าย แล้วพับแขนซ้ายขึ้นมาทับไว้
  • ค่อย ๆ เอี้ยวตัวไปด้านซ้ายเล็กน้อยจนรู้สึกตึงที่แขน และกลางหลัง
  • ทำค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง ทำ 3 เซ็ต

ท่าที่ 4 ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบัก

และต้นแขนด้านหลัง

  • เริ่มต้นที่การนั่งผ่อนคลาย แล้วนั่งหลังตรงขึ้นมา
  • ยกแขนขวาแล้วพับศอกไปที่ด้านหลัง
  • ใช้แขนซ้ายจับข้อศอกขวาเอาไว้ แล้วดึงศอกขวาลงจนเริ่มตึง
  • ทำค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง ทำ 3 เซ็ต

ท่าที่ 5 ท่ายืดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า

และหลัง

  • เริ่มต้นที่การนั่งผ่อนคลาย แล้วนั่งหลังตรงขึ้นมา
  • เอามือขวาเอื้อมไปด้านหลัง มือซ้ายจับที่เข่าขวา
  • ค่อย ๆ เอี้ยวตัวไปด้านขวาให้ช่วงสะบักตึง
  • ทำค้างไว้ 20 วินาที แล้วสลับข้าง ทำ 2-3 เซ็ต

ท่าที่ 6 ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่

และหลัง (ท่ายืน)

  • เริ่มต้นที่การยืนตัวตรง
  • เอามือประสานไว้ที่ด้านหลังให้แขนตึง อกแอ่น
  • ค่อย ๆ ยกแขนขึ้นจนรู้สึกตึง หรือเจ็บแปลบ ๆ ที่เส้นบริเวณสะบัก
  • ทำค้างไว้ 10 วินาที ทำ 3 เซ็ต

ท่าที่ 7 ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่

และหลัง (ท่านั่ง)

  • เริ่มต้นที่การนั่งพับขาซ้ายไขว้กับขาขวาทับกัน
  • ยกมือขวาแล้วพับไปที่ด้านหลัง แล้วเอามือซ้ายไพล่หลังแล้วเอี้อม จับมือขวาให้ถึง
  • เมื่อยืดจนรู้สึกตึงแล้ว ให้ทำค้างไว้ 5-10 วินาที และสลับข้าง 3-4 เซ็ต

ท่าที่ 8 ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังแบบโยคะ (ท่านอน)

  • เริ่มต้นที่การนอนคว้ำราบกับพื้น แล้วค่อย ๆ

          เอามือดันตัวขึ้น

  • ให้ขาส่วนบนแตะพื้น แล้วยกสะโพกขึ้นนิดนึง เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
  • ทำค้างไว้ 10 วินาที สลับกับท่าที่ 9 ทำ 5 เซ็ต

ท่าที่ 9 ท่ายืดกล้ามหลังแบบโยคะ

(ท่านั่ง)

  • เริ่มต้นที่การนั่งทับขาตัวเอง
  • ยกแขนทั้งสองข้าง แล้วค่อย ๆ โน้มตัวไปข้างหน้า
  • ทำค้างไว้ 10 วินาที ทำสลับกับท่าที่ 8

ท่าที่ 10 ท่ายืดกล้ามหลังส่วนล่าง

  • เริ่มต้นที่การนอนหงายราบกับพื้น
  • กางแขนขวาออก แล้วเอาขาขวาพาดขาซ้าย
  • หันคอและเอี้ยวตัวมาด้านขวา
  • ทำค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง ทำ 2-3 เซ็ต

     ในแต่ละวันให้เจียดเวลาช่วงพักสัก 10 นาทีมายืดเส้น ท่าไหนไม่เหมาะกับการยืดที่ทำงาน

กลับไปยืดที่บ้านก็จะช่วยให้ผ่อนคลายและนอนหลับสบายยิ่งขึ้น อย่าละเลยอาการปวดเหล่านี้

เพราะอาจเจ็บปวดเรื้อรังและเป็นพังผืดได้ค่ะ


     ผู้ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดคอ ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าอาการที่เป็นรุนแรงถึงขั้นเป็นหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง บางครั้งมาพบแพทย์เมื่อสาย ตอนที่โรคเป็นมากแล้ว ด้วยอาการเสียการทรงตัว หรืออาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย ควบคุมความสมดุลของร่างกายไม่ดี หกล้มง่าย หรือใช้มือทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้ เพราะควบคุมความละเอียดของกล้ามเนื้อไม่ได้ เป็นต้น


     จึงไม่อยากให้ประวิงเวลาในการมาพบแพทย์ เพราะคิดว่าอาการปวดคอที่เป็นๆ หายๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อันตรายอะไร แล้วรอจนเป็นมากแล้วถึงมาพบแพทย์ อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาได้



Credit: http://www.manager.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy